พัดลมระบายอากาศโรงงาน ไอเทมที่โรงงาน และอาคารขนาดใหญ่ ต้องควรติดตั้ง

พัดลมระบายอากาศโรงงานคืออะไร

สำหรับท่านที่กำลังสงสัยว่า พัดลมระบายอากาศโรงงานคืออะไร ต่างจากพัดลมระบายอากาศที่ใช้งานทั่วไปมั้ย หากอธิบายกันจริง ๆแล้วหน้าตาและวัตถุประสงค์การใช้งานของพัดลมระบายอากาศประเภทนี้ ไม่ค่อยต่างจากพัดลมระบายอากาศอื่นๆ คือ ถ่ายเทอากาศเสีย และอุณหภูมิความร้อน ที่มีอยู่ภายในอาคารออกไปยังนอกอาคาร เพื่อให้ผู้คนในโรงงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่รู้สึกอึดอัด หรือผลกระทบด้านสุขภาพ จากสภาพอากาศที่ย่ำแย่ รวมถึงถนอมเครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักรต่างๆ เพราะหากอุณหภูมิสูงเกินไป ก็อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้เช่นกัน

แต่หากจะถามว่าเหมือนกันทุกประการ หรือไม่ ก็คงจะต้องตอบว่าไม่ซะทีเดียว เพราะยังมีปัจจัยอื่นเพิ่มขึ้นมา เช่นเกณฑ์การคำนวณขนาด เพื่อเลือกใช้งานให้เหมาะสม การเลือกคุณสมบัติบางอย่าง ตำแหน่งการวาง ฯลฯ เพื่อให้เหมาะกับทั้งผู้คนจำนวนมาก สิ่งที่จุกันอยู่ภายในอาคาร และกระแสลม ตอบโจทย์พื้นที่ขนาดใหญ่ เช่นโรงงานโกดัง ฯลฯ โดยเฉพาะ

ความสำคัญของพัดลมระบายอากาศโรงงาน

ถึงแม้ว่าจะได้พูดถึงพัดลมระบายอากาศโรงงานว่าคืออะไรใช้งานยังไงบ้าง แต่เชื่อว่ายังมีคน สงสัยเรื่องติดแค่เครื่องปรับอากาศ หรือแอร์อย่างเดียวไม่ได้หรือ ก็ช่วยปรับอุณหภูมิ และอากาศภายในได้เหมือนกันหนิ เราจึงขอมาบอกต่อความสำคัญของพัดลมระบายอากาศ ที่ติดตั้งตามจุดต่างๆ ภายในโรงงานว่า สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องติดเพิ่ม นอกจากติดเครื่องปรับอากาศ หรือไม่

  1. เอาความร้อน และกลิ่นเหม็นออก

ต้องยอมรับว่า แม้ภายในอาคาร หรือโรงงานต่างๆ จะมีเครื่องปรับอากาศให้ภายในได้มีอุณหภูมิที่เย็นมากขึ้น แต่ด้วยความที่ภายในอาคารจะมีขนาดใหญ่มาก และมีผู้คนเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดความร้อนขณะทำงาน ผู้คนก็อาจเกิดอาการหงุดหงิด เหนื่อยล้าง่าย หรืออุปกรณ์เครื่องจักรก็อาจมีปัญหาเสื่อมสภาพ ไปจนถึงสร้างความเสียหายอย่างระเบิดได้เลย

แถมหากจะใช้แค่เครื่องปรับอากาศ มาช่วยหมุนเวียน ก็จำเป็นต้องใช้เครื่องจำนวนมาก เพราะอย่างที่รู้กันว่า ช่วงเวลากลางวันของประเทศไทย หากอาคารไม่มีฉนวนกันความร้อนที่ดี ก็ยิ่งเพิ่มภาระให้ทำงานหนักแบบ x2 ไปอีก ซึ่งบางทีอาจจะต้องเร่งใช้พลังงานสูง ในการถ่ายเทปรับสมดุลอากาศภายในด้วย

เนื่องจากความร้อน และกลิ่นยังคงหมุนวนอยู่ภายใน ไม่ถูกระบายออกสู่ภายนอก ส่วนใหญ่จึงเลือกติดตั้งพัดลมระบายอากาศโรงงาน เพื่อดูดอากาศที่ร้อนแห้ง และอาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์จากภายใน ระบายออกสู่ภายนอกอย่างเหมาะสม ลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ และลดการใช้พลังงาน ได้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงชั่วคราว

  1. เพิ่มการไหลเวียนของอากาศดี

ไม่มีมนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิตชนิดไห นที่อยากสูดดมอากาศคุณภาพแย่จากการปนเปื้อนบางสิ่งในอากาศ เช่นก๊าซสารเคมีฝุ่นละอองเชื้อโรค/แบคทีเรียต่างๆ ฯลฯ เพราะสิ่งเหล่านี้ สามารถส่งผลกระทบถึงสุขภาพของสิ่งมีชีวิตได้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก หรือเกิดการสะสมในระยะยาวพัดลมระบายอากาศโรงงาน

จึงเป็นอีกตัวเลือกที่ดี และมีประสิทธิภาพมากพอ จะช่วยให้ภายในเกิดการไหลเวียนให้อากาศเสียถูกระบาย ไม่สะสมอยู่ภายในโรงงาน หรืออาคาร นอกจากนี้ยังไม่ได้ช่วยแค่บุคลากรที่ทำหน้าที่อยู่ภายในนั้น แต่ยังช่วยลดโอกาสเกิดการระเบิด หรือเพลิงไหม้ จากสารละลายที่เป็นสารเคมีในโรงงาน เกิดการฟุ้งกระจาย ซึ่งอาจไปสัมผัสกับประกายไฟ หรือความร้อนได้ด้วย

  1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

การลงทุนติดตั้งพัดลมระบายอากาศโรงงาน ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จำเป็น สำหรับโรงงานที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เพราะไม่ใช่แค่ลดการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ ค่ารักษาพยาบาลของพนักงานในโรงงาน เนื่องจากต้องสัมผัสกับสารเคมี หรือเชื้อโรค ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือป้องกันการเสียหายจากอุบัติเหตุ ที่อาจเกิดขึ้นในโรงงานได้เสมอ อย่างระเบิดเพลิงไหม้ ฯลฯ

แต่ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย และลดระยะเวลาจากการดูแลความสะอาด จนอาจฟุ้งไปเกาะอยู่ตามเครื่องมือวัสดุต่างๆ เพราะจะขึ้นชื่อว่าโรงงานที่มีมาตรฐาน ได้รับการยอมรับจากทั่วไป ต้องมีความสะอาดปลอดภัยในทุกขั้นตอนการทำงาน เพราะงั้นจะมองว่า การลงทุนพัดลมระบายอากาศโรงงานสิ้นเปลืองเงินไปเปล่าๆ หรือไม่คุ้ม ก็อาจจะมองแค่ในระยะสั้น ไม่ได้ต้องมองถึงความคุ้มค่าที่จะได้รับในหลายๆ ด้านจากมุมมองลงทุนในระยะยาวด้วย

กฎหมายเกี่ยวกับการระบายอากาศภายในโรงงาน

นอกจากความสำคัญที่เราได้กล่าวไปในข้างต้นแล้ว ยังสำคัญในแง่ของการประกอบกิจการโรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมายของไทยอีกด้วย ได้แก่

กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 กล่าวถึงหนึ่งในลักษณะของโรงงานว่า จัดให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม โดยให้มีพื้นที่ประตูหน้าต่าง และช่องลมรวมกัน โดยไม่นับที่ติดต่อระหว่างห้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ส่วนของพื้นที่ของห้อง หรือมีการระบายอากาศไม่น้อยกว่า 0.5 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ต่อคนงานหนึ่งคน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน และวิธีการตรวจสอบกลิ่นในอากาศจากโรงงาน ได้มีการกำหนดค่าความเข้มกลิ่นจากโรงงานไว้ว่า ห้ามโรงงานระบายอากาศที่มีกลิ่นออกมา เว้นแต่จะได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างให้มีค่าเข้มข้นไม่เกินขอบเขต ดังนี้ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภายในรั้วโรงงานจะไม่เกิน 30 ปล่องระบายอากาศไม่เกิน 1,000 ส่วนนอกเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภายในรั้วโรงงานจะไม่เกิน 15 ปล่องระบายอากาศไม่เกิน 300

ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เช่นประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกําหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศ ที่ระบายออกจากโรงงานพ.ศ. 2549, ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกําหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศ ที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำของโรงงานพ.ศ. 2549 ฯลฯ บางทีอาจกำหนดเฉพาะประเภทโรงงาน

อุตสาหกรรมบางครั้งก็อาจกำหนดเฉพาะสารบางประเภท แต่จากตัวอย่างกฎหมายที่เราได้ยกขึ้นมา คงพอจะทำให้ทุกท่านเห็นว่า การระบายอากาศภายในโรงงาน ถือเป็นเรื่องจำเป็น ที่ทุกโรงงานผ่านการรับรองความปลอดภัย และมาตรฐานควรใส่ใจ แม้แต่กฎหมายยังมีการควบคุม เพื่อให้เกิดการวางแผนจัดการระบายอากาศจากโรงงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรงงานใช้พัดลมระบายอากาศรูปแบบใดบ้าง

อย่างที่หลายคนคงทราบกันว่า ในโรงงานแห่งหนึ่ง ประกอบไปด้วยห้อง และการใช้งานภายในห้อง หลากหลายรูปแบบ หลายสภาพพัดลมระบายอากาศโรงงานส่วนใหญ่ จะใช้มากกว่า 1 ประเภท ซึ่งประเภทที่โรงงานส่วนใหญ่จะเลือก ก็แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ภายโรงงาน เช่น

พัดลมระบายอากาศโรงงานแบบแรงเหวี่ยง

ลักษณะการทำงานของพัดลมประเภทนี้ คือดึงอากาศเข้าทางด้านข้าง แล้วเหวี่ยงออก เสียงค่อนข้างเงียบ ทำงานได้ดีในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 80 องศาเซลเซียส (บ้านเราน่าจะไม่ถึงอยู่แล้ว) เหมาะกับการใช้งานสำหรับดูดอากาศเสีย และเติมอากาศดีเข้าภายในอาคารระดับปานกลาง สามารถใช้ได้ทั้งในครัวเรือน (ตามห้องครัว) และใช้ได้ทั้งในโรงงาน จะนิยมพบเห็นตามโรงงานที่มีฝุ่น หรือความฟุ้งกระจายของสารเป็นจำนวนมาก เช่นโรงงานขนฝุ่น/ขี้เลื่อย, อาหารสัตว์แป้ง, สายผลิตสายบรรจุภัณฑ์ฯลฯ

พัดลมระบายอากาศโรงงานแบบแรงดันสูง

ลักษณะการทำงานของพัดลมประเภทนี้ จะใช้งานแรงดันสูง (และมีกำลังดูดสูงสมชื่อ) สำหรับการระบายอากาศทั้งความร้อน และมลพิษทางอากาศอย่างกลิ่น หรือการปนเปื้อนสาร/ฝุ่นละออง เหมาะกับการใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่นโรงงานที่ต้องมีการโม่/การขัด, โรงงานที่มีกระบวนการเกี่ยวกับสารเคมี, ห้องปฏิบัติการ, โรงพ่นสีรถยนต์ฯลฯ

พัดลมระบายอากาศโรงงานแบบดูดอากาศตามแรงแนวแกน

ลักษณะการทำงานของพัดลมประเภทนี้ จะใช้ครีบใบพัดตรงแกนอากาศ จะไหลขนานไปกับแกนของใบพัด ค่อนข้างตอบโจทย์กับการระบายอากาศในพื้นที่ที่มีแรงดันต่ำ มีประสิทธิภาพในการสร้างลม และประหยัดพลังงานได้มากกว่าแบบแรงเวี่ยง โดยปกติจะใช้แบบแนวเส้นตรง เพื่อให้ความปั่นป่วนระหว่างการไหล สามารถนิ่งมากขึ้นได้ เหมาะกับท่อดูดระบายอากาศ, ฝุ่นผงสารต่างๆ รวมถึงหยิบนำมาใช้ในการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ ระหว่างการผลิตได้ด้วย ฯลฯ

ปัจจัยในการเลือกซื้อพัดลมระบายอากาศโรงงาน

  1. จุดประสงค์ในการใช้งาน

เป็นไปไม่ได้เลย ที่คุณจะอยากลงทุนพัดลมระบายอากาศ ไปโดยไม่รู้ว่า คุณจะเอาไปใช้ทำอะไร เพระงั้นสิ่งแรกที่คุณควรคิดก็คือ จะติดตั้งพัดลมระบายอากาศโรงงานเพื่ออะไร ลักษณะพื้นที่ที่คุณต้องการจะติดตั้งเป็นแบบไหน เช่นมีความกว้างมากน้อยแค่ไหน, ต้องติดตั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องจักรขนาดไหน, ความเข้มข้น หรือความอันตรายของสารเคมีที่มีการใช้ในพื้นที่นั้นเป็นอย่างไรบ้าง, ภายในพื้นที่นั้นเป็นแบบปิดทึบ หรือเปิดโล่งให้อากาศถ่ายเทอยู่แล้ว ฯลฯ เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจต่อว่า ถ้าเลือกติดตั้งจะคุ้มค่ากับการใช้งานในโรงงานของคุณ หรือไม่ และควรเลือกแบบไหนให้ตอบโจทย์บ้างดี

  1. เลือกประเภทของพัดลมระบายอากาศ

หลังจากพิจารณาจนตัดสินใจได้แล้วว่า พื้นที่ภายในโรงงานของคุณต้องการการระบายอากาศให้เกิดการถ่ายเทหมุนเวียนบ้าง หรือไม่ จากนั้นก็มาตัดสินใจต่อว่า จะเลือกประเภทการระบายอากาศแบบไหนดี ระหว่างแบบการติดหน้าต่างกริล หรือเปิดโล่งธรรมดาเพื่อเปิดการระบายอากาศเป็นไปตามธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้การวางระบบที่ต้องพึ่งไฟฟ้า หรือหากภายในมีสารที่เสี่ยงปนเปื้อนในอากาศเข้มข้นสูง ยากต่อการระบายออกได้จนสะอาดปลอดภัยต่อการดำเนินงานภายในพื้นที่นั้น อาจจะเลือกติดตั้งพัดลมระบายอากาศโรงงาน เพื่อให้ระบายอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพดี

  1. คำนวณหาขนาดพัดลมที่ตอบโจทย์ได้ตรงใจ

เพราะพัดลมระบายอากาศโรงงานแต่ละตัว อาจให้คุณสมบัติที่ตอบโจทย์การใช้งานได้ไม่เหมือนกัน เพราะงั้น เราจึงต้องคำนวณเพื่อหาคุณสมบัติของพัดลมเหล่านั้น มาตอบโจทย์ให้ตรงใจกัน เช่นขนาดของพัดลมรูปแบบการใช้งาน ฯลฯ โดยอาจคำนวณเบื้องต้นได้ ด้วยสูตรหาปริมาณการระบายอากาศที่ต้องการ เพื่อให้เกิดการถ่ายเทอย่างมีประสิทธิภาพ (หน่วยลบ.ม.) โดยคำนวณจากพื้นที่ทั้งหมดภายในห้อง (ตร.ม.) x ความสูงในห้อง (ม.) x ค่ามาตรฐานคำนวณ (2.7 ม.)

 

  1. คุณสมบัติอื่นๆ เพิ่มเติม

นอกจากเรื่องของขนาด และพลังในการปั่นระบายอากาศแล้ว อาจพิจารณาถึงคุณสมบัติอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย เช่นลักษณะทางกายภาพ เหมาะสมกับการติดตั้งในพื้นที่โรงงานของคุณหรือไม่, ซีเรียสเรื่องเสียงดังมั้ย หรืออยากได้ไร้เสียงเงียบสนิท บางแบรนด์ก็จะมีข้อมูลแจ้งเรื่องเดซิเบลของเสียงมอเตอร์ด้วย, แบรนด์ที่ตัวเองเชื่อถือในเรื่องของคุณภาพผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO ต่างๆ เช่น Mitsubishi, Hatari, Panasonic ฯลฯ

แน่นอนว่าพัดลมระบายอากาศโรงงาน ทุกแบรนด์ และทุกตัว ที่วางจำหน่ายในร้านของเรา ล้วนผ่านการคัดสรรจากทาง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยู.ดี. ไอเอิร์น กล้าการันตีในเรื่องของคุณภาพ และตอบโจทย์การใช้งานในระดับที่อยู่อาศัยทั่วไป จนถึงระดับโรงงานขนาดใหญ่ ในราคาคุ้มค่าที่สุด

  1. งบประมาณที่มี

งบประมาณก็ถือเป็นอีกปัจจัย ที่ต้องหยิบมาพิจารณาเหมือนกันว่า หากไม่พอ จะยอมเพิ่มงบ หรือหาตัวเลือกที่ดีที่สุดตามงบที่ตัวเองมี เพราะการวางระบบพัดลมระบายอากาศโรงงานต้องใช้พัดลมหลายตัว แต่ถ้างบไม่พอกับจำนวน และสเป็กที่ต้องการ ก็อาจจะต้องมีการปรับลดในส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อให้การจัดการถ่ายเทอากาศมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งทาง ยู.ดี. ไอเอิร์น เอง ก็ยินดีวางแผนการเลือกลงทุนให้ตอบโจทย์มากที่สุด ตามงบที่คุณมี โดยช่างผู้เชี่ยวชาญ เพราะงั้นหากซื้อกับเรา ไม่จำเป็นต้องคิดเยอะให้มากมาย แค่แจ้งว่าเป็นโรงงานอะไร ใช้สารเคมีอะไรบ้าง พื้นที่ที่ต้องการติดตั้งเป็นแบบไหน ขนาดพื้นที่เท่าไหร่ ฯลฯ

วิธีการดูแลความปลอดภัย นอกจากติดตั้งพัดลมระบายอากาศโรงงาน

นอกเหนือจากการดูแลความปลอดภัย ของอากาศภายในโรงงาน ด้วยพัดลมระบายอากาศโรงงานแล้ว ยังจำเป็นจะต้องจัดหามาตรการมาดูแลความปลอดภัยให้แก่บุคคล และทรัพย์สินภายในโรงงานนั้นเพิ่มเติมด้วย เช่น

  1. จัดการสารให้เหมาะสม

เชื่อว่าโรงงานส่วนใหญ่ ที่สนใจติดตั้งพัดลมระบายอากาศ โรงงานจะเป็นโรงงานที่ใช้สารเคมี มาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานมากกว่า จึงขอแนะนำให้เริ่มตั้งแต่การจัดการสารเคมี (ไม่ว่าจะอันตราย หรือไม่อันตราย) ให้เหมาะสม หากยังไม่ได้ใช้ หรือนำไปใช้ต่อได้ ก็ต้องแบ่งพื้นที่จัดเก็บให้ดี แต่ถ้าไม่ได้ใช้ประโยชน์ต่อแล้วก็ให้จัดการอย่างเหมาะสม ก่อนกำจัดทิ้งให้เรียบร้อย นอกจากนี้อาจปรับปรุงระบบการทำงานเท่าที่ได้ เช่นเปลี่ยนจากแห้งไปใช้เปียกติดตั้งระบบพัดลมระบายอากาศเฉพาะที่ฯลฯ

 

  1. ดูแลเครื่องมือเครื่องจักร และสถานที่โดยรอบ

เมื่อยามที่เครื่องใช้ไฟฟ้า และสิ่งต่างๆ หยุดทำงานอากาศจะสงบ สารจะเกาะติดอยู่ตามเครื่องมือเครื่องจักร หรือบริเวณสถานที่โดยรอบ ถึงจะไม่ 100% แต่หากทำความสะอาดบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ และสถานที่โดยรอบ รวมถึงที่ตกค้างตามพัดลมระบายอากาศโรงงาน ก็จะช่วยลดการสะสมของสารเคมีเชื้อโรค หรือสารอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย ให้หายไปพอสมควรได้นอกจากนี้ ควรจัดให้มีการตรวจสอบสารเคมี เทียบกับค่ามาตรฐานภายในโรงงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (ตามกฎหมาย) เพื่อวางแผนหาวิธีจัดการให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อไป

  1. วางแผนให้ความรู้แก่ผู้ที่ดำเนินงานภายในองค์กร

การทำงานในโรงงานส่วนใหญ่ จะมีทั้งผู้เชี่ยวชาญที่รู้เชิงลึกของสาร และขั้นตอนแต่ละตัวเป็นอย่างดี กับผู้ที่ลงมือปฏิบัติหน้างานจริง เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ควรมีการให้ผู้ที่มีความรู้เชิงลึกมาแบ่งปันให้ความรู้ และข้อควรระวังระหว่างดำเนินงาน รวมถึงอาจให้เข้ามาช่วยให้ข้อมูล เพื่อหาพัดลมระบายอากาศโรงงาน ที่ตอบโจทย์การใช้งานภายในแต่ละพื้นที่ อย่างเหมาะสมด้วยก็ได้

  1. จัดหาอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความปลอดภัย

อุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย ระหว่างทำงานภายในโรงงาน ไม่ได้มีแค่พัดลมระบายอากาศโรงงาน แต่ยังมีส่วนอื่นๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรที่ทำงานในโรงงานโดยตรง เช่นเครื่องมือป้องกันอันตรายส่วนบุคคล อย่างหน้ากากป้องกันสารพิษ และถุงมือยาง ฯลฯ และทางอ้อม เช่นติดป้ายสัญลักษณ์ หรือระเบียบข้อบังคับ เพื่อความปลอดภัยในระหว่างทำงานอย่างห้ามสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันสารเคมีมาติดประกายไฟ จนอาจเกิดเพลิงไหม้ได้ แม้จะเป็นไฟเพียงเล็กน้อยก็ตาม ฯลฯ

 

อ้างอิง https://udwassadu.com/industrial-fan/