รวม 7 วิธีการจัดการความปลอดภัยในโรงงาน

สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานสามารถเกิดได้ตลอดเวลา การป้องกันอุบัติเหตุในโรงงานจึงเป็นอีกหนึ่งความรับผิดชอบที่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างควรให้ความร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยภายในโรงงาน และลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงาน โดยสามารถทำได้ดังนี้

1. วางแผนดำเนินการเพื่อประเมินความเสี่ยง

สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึง คือ ความปลอดภัยในโรงงานผลิต โดยนายจ้างสามารถหาวิธีป้องกัน หรือระบุสาเหตุของอันตรายได้โดยการประเมินความเสี่ยงล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในโรงงาน และทำการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุด ลดความเสียหายต่อพนักงาน และค่าเสียหายต่อทรัพย์สินน้อยลง ซึ่งการจ้างผู้ประเมินโรงงานเพื่อพัฒนาแผนการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตโดยเฉพาะจะช่วยประเมินความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ และสามารถแนะนำมาตรการควบคุม เพิ่มการจัดการความปลอดภัยในโรงงาน และตรวจสอบสภาพการทำงานของอุปกรณ์ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง

2. ให้ความสำคัญกับความสะอาด

ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานในการผลิต พื้นที่ทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ พื้นเปียกหรือมันเยิ้ม สภาพแวดล้อมเหล่านี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงของเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในที่ทำงานได้ ด้วยเหตุนี้ การป้องกันอุบัติภัยในโรงงาน นายจ้างและลูกจ้างควรหมั่นตรวจสอบ รักษาความสะอาดทางเดิน อุปกรณ์ และสถานที่ทำงานร่วมกัน เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ เช่น การลื่นล้ม วงจรไฟฟ้าชำรุด หรือเพลิงไหม้ บริเวณพื้นควรดูแลให้แห้ง สะอาด ปราศจากฝุ่น เศษโลหะ หรือวัตถุไวไฟ รวมทั้งจัดเรียงอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ให้เป็นระเบียบเสมอ

3. สวมใส่อุปกรณ์ Safety ที่จำเป็น

พนักงานที่ต้องทำการใกล้ชิดกับอุปกรณ์ หรือเครื่องจักรควรสวมอุปกรณ์ป้องกันเสมอ เพื่อความปลอดภัยในโรงงาน และลดโอกาสที่จะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยอ้างอิงจากมาตรฐาน OSHA ของสำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการกำหนดให้พนักงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ได้แก่ ถุงมือ หมวก รองเท้านิรภัย ที่อุดหู หมวกแข็ง เครื่องช่วยหายใจ และชุดเต็มตัว เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับอันตราย หรือการบาดเจ็บระหว่างการทำงาน เช่น หากทำงานเกี่ยวกับงานเชื่อม การสวมแว่นตาป้องกันและฝาครอบในระหว่างปฏิบัติงานจะช่วยปกป้องดวงตาจากการเผาไหม้ของรังสีอัลตราไวโอเลต อินฟราเรด และควันเชื่อมที่เป็นพิษ

4. ตรวจสอบกลไกการป้องกันของเครื่องจักร

ก่อนเริ่มปฏิบัติการใดๆ ควรตรวจสอบกลไกการป้องกันของเครื่องจักรอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในโรงงาน เช่น การตรวจสอบการติดตั้งของอุปกรณ์ก่อนเริ่มทำการผลิตอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือได้รับการติดตั้งอย่างถูกต้องและไม่ชำรุด ในขณะเดียวกัน ควรอนุญาติฝึกฝนให้ลูกจ้างที่มีทักษะและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมในการตรวจสอบและใช้งานเครื่องจักร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บในสถานที่ทำงาน

5. ห้ามวางของกีดขวางทางออกฉุกเฉิน

กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ การจัดการความปลอดภัยในโรงงานควรเตรียมพื้นที่สำหรับหลบหนีได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางที่ปิดกั้นทางออกฉุกเฉิน การปิดกั้นอุปกรณ์ และพื้นที่ที่ทำงานอยู่ เพราะสภาพแวดล้อมที่รกเกะกะอาจทำให้มีพื้นที่ไม่เพียงพอในการใช้เครื่องมือป้องกันและจัดการกับอุบัติเหตุฉุกเฉินได้ นอกจากนี้ หากทางออกฉุกเฉินถูกกีดขวาง ลูกจ้างอาจไม่สามารถหลบหนีได้ทันท่วงที ก่อให้เกิดความเสียหาย หรืออาการบาดเจ็บที่มากกว่าที่ควรจะเป็น

6. ใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร และเครื่องมือให้ถูกต้อง

แม้ว่าโรงงานผลิตและเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ จะได้รับการออกแบบเพื่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน พนักงานหรือลูกจ้างก็ควรใช้เครื่องมือ Safety ในโรงงาน และใช้งานเครื่องจักรอย่างถูกวิธีตามคู่มือ โดยไม่ควรประมาทและหมั่นศึกษาการทำงานของเครื่องมืออยู่เสมอ เพราะบางครั้งอุปกรณ์บางรุ่นอาจมีการอัปเดตหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้งาน หากเครื่องจักรไม่ได้รับการติดตั้งอย่างเหมาะสม อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสถึงแก่ชีวิต ในทำนองเดียวกัน การที่พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือจะช่วยป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เกิดการชำรุด และยืดระยะการใช้งานจากการทำงานที่ไม่ถูกวิธีได้

7. ฝึกอบรมความปลอดภัยให้พนักงานเป็นประจำ

เนื่องจากแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการฝึกอบรมแก่พนักงานเป็นระยะๆ เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรมีทักษะที่สามารถทำงานกับเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ การใช้เครื่องมือในทางที่ผิดหรือการขาดความเชี่ยวชาญอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ดังนั้น การที่พนักงานได้รับการฝึกอบรมให้ปฏิบัติตามระเบียบการด้านความปลอดภัยเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บในสถานที่ทำงานได้ เช่น คนงานไม่ควรได้รับอนุญาตให้ยกอุปกรณ์หนักด้วยตนเอง แต่ควรได้รับการสนับสนุนให้ใช้อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ เช่น คานยก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่หลัง ไหล่ และส่วนอื่นๆ

 

อ้างอิง https://www.dia.co.th/articles/manufacturing-workplace-safety/